ไม่อยากมีปัญหากับเพื่อนบ้านด้วยสาเหตุจากสัตว์เลี้ยง ต้องทำแบบนี้ !

หลาย ๆ คนที่อยู่ในหมู่บ้านจัดสรรหรือมีเพื่อนบ้านละแวกใกล้เคียงที่รักสัตว์ โดยเฉพาะสุนัขและแมวอาจเคยมีประสบการณ์กระทบกระทั่งกันด้วยเรื่องของสัตว์เลี้ยงเหล่านี้อยู่บ้าง หรือบางครั้งอาจเคยเกิดปัญหาลักษณะนี้กับตัวเอง สุนัขและแมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่น่ารักก็จริง แต่ต้องยอมรับว่ามีคนอีกกลุ่มที่อาจไม่ชอบสัตว์ หรืออาจแค่ชอบ แต่ไม่ต้องการได้รับผลกระทบจากสัตว์เลี้ยงของคนอื่น ไม่ว่าจะเป็น เสียงเห่าของสุนัข หรือเสียงร้องของแมวแบบไม่เป็นเวลา โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องการพักผ่อนสงบ ๆ , แน่นอนว่าหากเรากำลังหลับก็คงไม่อยากมีข้างบ้านร้องเฮลั่นจากการชนะราคาบอลหลังทีมโปรดทำประตูได้เช่นกัน รวมถึงไม่อยากทนดมกลิ่นไม่พึงประสงค์จากสิ่งปฏิกูลของสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ และไม่ต้องการให้มีร่องรอยเท้าของแมวติดอยู่ตามผนังบ้าน

เมื่อเพื่อนบ้านมีมุมมองต่อสัตว์เลี้ยงต่างกัน เราควรปรับวิธีดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างไร .. ?

นี่คือคำถามคลาสสิกที่คนรักสุนัข แมว จำเป็นต้องหาคำตอบสำหรับตัวเอง และพยายามปรับวิธีการให้กระทบกระทั่งกับเพื่อนบ้านน้อยที่สุด ซึ่งอาจใช้วิธีการเหล่านี้ในการดูแลสัตว์เลี้ยงในบ้านเพื่อให้เพื่อนบ้านไม่เกิดความรู้สึกในแง่ลบ และอาจทำให้เพื่อนบ้านเอ็นดูสัตว์เลี้ยงที่น่ารักของเรามากขึ้น ได้แก่

  1. พูดคุยกับเพื่อนบ้านในเรื่องสัตว์เลี้ยง อาจใช้การขอโทษไว้ก่อนหากว่าสัตว์เลี้ยงในบ้านร้องเสียงดังเป็นบางเวลา โดยสามารถใช้โอกาสนี้รับฟังเพื่อนบ้านถึงมุมมองของปัญหาเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงในบ้านของเรา แล้วค่อย ๆ หาวิธีการปรับแก้ให้เหมาะสมต่อไป สำหรับกรณีที่มีเพื่อนบ้านย้ายเข้ามาอยู่ใหม่ ควรเข้าไปทักทายและถือโอกาสบอกกล่าว เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงในบ้านไว้ก่อน พร้อมขอโทษล่วงหน้าหากมีเสียงหรือกลิ่นรบกวน
  2. ฝึกสุนัขและแมวให้ขับถ่ายเป็นที่ เพื่อจะได้สามารถจัดการกับกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ไม่ให้รบกวนเพื่อนบ้าน รวมถึงเมื่อสุนัขที่เลี้ยงไว้ เห่าต่อเนื่องยาวนานจนเริ่มรบกวนเพื่อนบ้านจะต้องรีบเข้าไปดูและหาวิธีจัดการให้สุนัขสงบลง ในเวลาที่ไม่ยาวนานเกินไป
  3. รับผิดชอบต่อสิ่งปฏิกูลของสุนัขและแมวที่เลี้ยง หลายคนที่ชอบพาสุนัขและแมวออกไปเดินเล่นยามว่าง ยิ่งคนที่อยู่ในหมู่บ้านจัดสรร มีสวนสาธารณะส่วนกลางสำหรับการพักผ่อนร่วมกัน ยิ่งต้องเอาใจใส่ในกรณีที่สุนัข แมวขับถ่ายไว้ในพื้นที่สวนส่วนกลางหรือบริเวณนอกตัวบ้าน โดยจะต้องเก็บสิ่งปฏิกูลของสุนัขใส่ถุงพลาสติกเพื่อนำกลับไปจัดการที่บ้านตามความเหมาะสม ไม่ทิ้งให้เป็นภาระของเจ้าหน้าที่หมู่บ้าน หรือปล่อยให้เพื่อนบ้านเผลอเหยียบสิ่งปฏิกูลสุนัข หรือปล่อยให้คนที่ทนกลิ่นไม่ไหวต้องมาตามเก็บสิ่งปฏิกูลสุนัขไปจัดการให้ เพราะสิ่งเหล่านี้ควรเป็นความรับผิดชอบของเจ้าของสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ยังต้องมีสายจูงไว้สำหรับการพาสุนัขหรือแมวออกไปเดินเล่นนอกบ้าน เพื่อที่จะได้ช่วยบังคับสัตว์เลี้ยงไม่ให้วิ่งซนหรือเผลอไปทำอันตรายต่อคนอื่นด้วย

สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่คนรักสุนัขและแมว จะละเลยไม่ได้ เพราะขณะนี้มีกฎหมายที่สามารถเอาผิดเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่ปล่อยปละละเลยจนสร้างปัญหาให้กับบุคคลอื่น ทั้งกฎหมายแพ่งและอาญา ดังนั้นหากรักสัตว์ ต้องการมีสัตว์เลี้ยงน่ารัก ๆ ไว้เพิ่มความสุขในบ้าน ก็จะต้องรับผิดชอบและดูแลสัตว์เลี้ยงของตัวเองอย่างดีที่สุด ไม่ให้สัตว์เลี้ยงกลายเป็นปัญหาไปกระทบถึงคนอื่น

วิธีดูแลบ้านที่มีการเลี้ยงสุนัขและแมว

วิธีทำความสะอาดบ้านของเจ้าของที่เลี้่ยงสุนัขและแมว

สุนัขและแมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่ประจำครอบครัวของคนส่วนใหญ่ เนื่องจากใช้พื้นที่ในการดูแลไม่มาก และยังสร้างความเพลิดเพลิน ลดความเครียดให้กับเจ้าของได้ด้วย แต่การดูแลทำความสะอาดบ้านที่มีสุนัขและแมวก็เป็นเรื่องที่สร้างปัญหาและความกังวลใจให้หลายคน เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีขน มีกลิ่นสาบ อาจมีเห็บหมัดและพาหะนำโรคอื่น ๆ ที่ติดต่อมาสู่คนได้ด้วย

วิธีทำความสะอาดบ้านของเจ้าของที่เลี้ยงสุนัขและแมว

1. ใช้ทรายกำจัดกลิ่น

ฉี่และขี้แมวเป็นสิ่งขับถ่ายที่มีกลิ่นรุนแรง ยิ่งถ้าเลี้ยงในคอนโดหรือพื้นที่ปิด ก็จะยิ่งได้รับผลกระทบด้านกลิ่นมาก ควรซื้อทรายแมวให้แมวขับถ่ายบนพื้นที่ในมุมที่เหมาะสม และเลือกกลิ่นทรายที่ช่วยในการปรับสภาพอากาศให้ดีขึ้น เช่น กลิ่นกาแฟ กลิ่นแอปเปิล ฯลฯ จะลดปัญหาเรื่องของกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้อย่างมาก และควรทำความสะอาดกระบะทรายเป็นประจำ และในวันหยุดก็ควรนำไปผึ่งแดดด้วย

2. ใช้ลูกกลิ้งหรือที่ดูดฝุ่นกำจัดขนจากเฟอร์นิเจอร์

คนส่วนใหญ่จะมีเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากผ้าที่อมฝุ่นได้ และก็ทำให้มีขนสัตว์ติดอยู่ปริมาณมาก จึงควรใช้ลูกกลิ้งที่ช่วยในการเก็บขนสัตว์ออกจากเฟอร์นิเจอร์ หรือใช้ที่ดูดฝุ่นที่มีแรงดูดสูง อาจเป็นระบบสุญญากาศก็ได้ และควรสวมปลอกหุ้มเฟอร์นิเจอร์ โดยเลือกแบบที่ทำจากเส้นใยทอละเอียด เพื่อกันไรฝุ่นและปรสิตอื่น ๆ จากสุนัขและแมวที่ทำให้คนเป็นโรคภูมิแพ้และผิวหนังอักเสบเป็น ๆ หาย ๆ ได้

3. ถูพื้นเป็นประจำ

ควรเลือกน้ำยาถูพื้นที่ผ่านการวิจัยว่าไม่มีผลเสียต่อสัตว์เลี้ยงทั้งสุนัขและแมว ใช้ผสมน้ำถูพื้นเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และเน้นทำความสะอาดบริเวณที่สุนัขและแมว กิน นอน ขับถ่าย ฯลฯ เพราะเป็นแหล่งที่มาของเชื้อโรคและทำให้สัตว์ป่วยได้ง่าย

4. ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รอง

กระดาษหนังสือพิมพ์มีขนาดหน้ากว้างมาก จึงเหมาะสำหรับการปูพื้นรองสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ช่วยลดความสกปรกเลอะเทอะที่เกิดกับพื้นได้ เช่น จุดที่สุนัขและแมวขับถ่าย กินอาหาร ฯลฯ และยังกำจัดทิ้งได้ง่ายด้วย

5. ใช้สเปรย์ปรับอากาศรุ่นใหม่

ปัจจุบัน มีบริษัทที่ผลิตน้ำหอมปรับอากาศแก้ปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์จากมูลสัตว์ได้ โดยสเปรย์ได้บ่อยครั้งตามต้องการ และยังมีสเปรย์บางรุ่น ที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคในอากาศได้ดียิ่งขึ้นด้วย เท่ากับคุณได้ประโยชน์ทั้งการฆ่าเชื้อและปรับกลิ่นในห้อง

การดูแลทำความสะอาดบ้านที่มีสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขและแมว เป็นสิ่งที่เจ้าของไม่ควรมองข้าม เพื่อให้ทั้งคนและสัตว์มีสุขภาพที่ดี หวังว่าบทความนี้จะเป็นคำแนะนำที่ดีให้ทุกท่านที่มีสัตว์เลี้ยงนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

วิธีดูแลบ้านที่มีการเลี้ยงสุนัขและแมว

เริ่มต้นเลี้ยงสุนัขกับแมวอย่างไร ให้อยู่ด้วยกันได้

เริ่มต้นเลี้ยงสุนัขกับแมวอย่างไร ให้อยู่ด้วยกันได้

การเลี้ยงเจ้าตูบกับเจ้าเหมียวให้อยู่ด้วยกันนั้น เป็นเรื่องที่น่าหนักใจให้กับเจ้าของอยู่ไม่น้อย เพราะสัตว์ทั้ง 2 ประเภทนี้เจอกันเมื่อไหร่ต้องปะทะกันทุกที แต่ถ้าคุณตกลงแล้วว่าจะเลี้ยงทั้งสุนัขและแมวด้วยกันให้ได้ เรามาหาวิธีที่จะช่วยให้เจ้าขนปุยทั้งสองเข้ากันได้ในบ้านหลังเดียวกัน จะดีกว่า

วิธีช่วยให้สุนัขกับแมวเข้ากันได้

แยกกันอยู่ก่อน – ก่อนอื่นนั้นให้คุณเตรียมห้องแยกไว้สำหรับเจ้าเหมียวและเจ้าตูบเพื่อไม่ให้ทั้งสองปะทะกัน โดยมีประตูเป็นตัวกั้น ซึ่งสุนัขและแมวยังคงได้กลิ่นกันและกัน เพื่อสร้างความคุ้นเคยผ่านกลิ่นกันได้

สลับห้องให้เจ้าเหมียวและเจ้าตูบ – เมื่อผ่านได้สักสามวันแล้ว ให้คุณลองสลับที่อยู่ของสัตว์ทั้งสอง เช่น หากคุณให้เจ้าเหมียวนอนในห้องนอน และให้เจ้าตูบนอนในห้องนั่งเล่น ก็ลองสลับกันเพื่อสร้างความคุ้นเคยผ่านกลิ่นกันให้ได้มากที่สุด

จัดเวลาให้พวกเขาใช้เวลาอยู่ด้วยกัน – เมื่อสุนัขและแมวทั้งสองได้เรียนรู้กลิ่นซึ่งกันและกันแล้ว สิ่งที่คุณจะต้องทำต่อไปคือการสร้างความคุ้นเคยด้วยการให้เวลาพวกเขาได้เรียนรู้กัน โดยระวังไม่ให้สุนัขไล่หรือเห่าใส่แมว และให้คุณมั่นใจก่อนว่าสุนัขเชื่อฟังคำสั่งของคุณในตอนที่ปล่อยให้พวกเขาอยู่ด้วยกัน

ให้รางวัลสุนัขเมื่อมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับแมว – สุนัขเป็นสัตว์ที่ชอบรางวัล ฉะนั้นหากให้รางวัลกับสุนัขเมื่อมันมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับแมว ก็จะทำให้สุนัขปฏิบัติได้ดีต่อไปเรื่อย ๆ แต่อย่าลืมว่าให้คุณแสดงความรักให้กับสัตว์ทั้งสองเท่า ๆ กัน เพราะไม่อย่างนั้นจะมีตัวใดตัวหนึ่งอิจฉาเป็นแน่

จัดหาสถานที่ให้แมว ที่สุนัขเข้าไปไม่ถึง – แมวเป็นสัตว์ที่ชอบความสงบ ชอบมีพื้นที่ส่วนตัว คุณควรจัดหาพื้นที่นี้ให้กับแมวโดยเฉพาะ เพราะจะทำให้เจ้าเหมียวได้ใช้เวลาส่วนตัวในการผ่อนคลายและเพื่อเป็นการไม่ให้สุนัขเข้าไปรบกวนเจ้าเหมียวนั่นเอง

ค่อยเป็นค่อยไปแบบไม่ใจร้อน – เจ้าของสัตว์เลี้ยงหลายคนมีความคาดหวังสูงที่จะให้สัตว์ทั้งสองเข้ากันได้ดีในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่ความจริงนั้นจำเป็นต้องใช้เวลาพอสมควร โดยขึ้นอยู่กับการปรับตัวของสัตว์ด้วย ฉะนั้นหากคุณอยากให้เจ้าเหมียวและเจ้าตูบเข้ากันได้ดีและอยู่ร่วมชายคาด้วยกันได้ ก็ให้ค่อยเป็นค่อยไป อย่ารีบร้อนและคาดหวังมากเกินไป

แม้ว่าการทำให้สุนัขและแมวอยู่ด้วยกันนั้น จะดูเป็นเรื่องยากอยู่สักหน่อย เพราะสัตว์ทั้งสองประเภทนี้ดูเหมือนจะเข้ากันไม่ได้อยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะอยู่ด้วยกันไม่ได้เสมอไป และเราขอเป็นกำลังใจให้คุณที่เป็นเจ้าของน้องเหมียวและน้องตูบ ประสบความสำเร็จในการสานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสัตว์เลี้ยงทั้งสองชนิดนี้ได้ในที่สุด

วิธีช่วยให้สุนัขกับแมวเข้ากันได้

รวม 3 เคล็ดลับฝึกสุนัขกับแมวอย่างไรให้อยู่ด้วยกันได้

ทริคฝึกสุนัขกับแมวให้อยู่ด้วยกัน

อย่างที่ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่าน้องหมาและน้องแมวนั้นเปรียบเหมือนไม้เบื่อไม้เมากันมาแต่ไหนแต่ไร เพราะเจอหน้ากันที่ไรเป็นต้องแยกเขี้ยวใส่กันทุกครั้งไป ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายคนเลือกที่จะเป็นเจ้านายหมาหรือ ทาสแมว อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อตัดปัญหา แต่ถึงอย่างนั้นก็มีคนรักสัตว์ไม่น้อยที่ตัดสินใจเลี้ยงน้องหมาน้องแมวไว้ด้วยกัน ซึ่งถ้าเริ่มเลี้ยงตั้งแต่พวกเค้าเป็นเด็กก็อาจจะอยู่ด้วยกันได้โดยไม่มีปัญหา แต่สำหรับคนที่เพิ่มรับน้องหมาน้องแมวมาเลี้ยงตอนที่โตแล้ว บอกเลยว่าทาสต้องเหนื่อยใจทำหน้าที่เป็นกรรมการคอยห้ามทัพไม่ให้สัตว์เลี้ยงของตัวเองทะเลาะกันจนถึงขั้นเลือดตกยางออก ดังนั้นเพื่อช่วยให้ผู้เลี้ยงสุนัข แมว จัดการปัญหานี้ได้ง่ายขึ้น วันนี้เรามี 3 เคล็ดลับฝึกสุนัขกับแมวให้อยู่ด้วยกันได้มาฝาก แต่จะมีเคล็ดลับไหนบ้างนั้น มาดูกันเลย

ทริคฝึกสุนัขกับแมวให้อยู่ด้วยกัน

พยายามขังแยกไว้ก่อน : เมื่อตัดสินใจจะนำสมาชิกใหม่เข้ามาในบ้าน ในช่วงแรกทั้งสองอาจมีความตื่นเต้นเห่าขู่กันตามสัญชาตญาณ ก่อนอื่นเลยแนะนำว่าให้จับขังกรงแยกไว้ก่อน โดยจะจับใส่กรงทั้งสองตัวหรือจับตัวใหม่ใส่กรงไว้ก่อนก็ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ทั้งตัวเก่าตัวใหม่ตกใจจนวิ่งหนีหายเตลิดแล้ว ยังเป็นการช่วยให้สัตว์เลี้ยงได้ปรับตัวได้เร็วขึ้น

เริ่มต้นด้วยการให้ทั้งสองเผชิญหน้ากันผ่านลูกกรง : หลังจากสัตว์เลี้ยงเริ่มมีสัญญาณสงบลงไม่ขู่ไม่เห่าเหมือนในช่วงแรก ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าสัตว์เลี้ยงพร้อมสำหรับการเริ่มต้นทำความรู้จักกับเพื่อนต่างสปีชีส์แล้ว ให้เจ้าของเริ่มลองให้สัตว์เลี้ยงได้เผชิญหน้าและสัมผัสกันผ่านลูกกรง โดยมีเจ้าของคอยปลอบเจ้าสัตว์เลี้ยงอยู่ข้าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ทั้งสองตัวเกิดความเครียด เมื่อดูแล้วว่าทั้งสองเริ่มเข้าได้จึงค่อยปล่อยออกมาทำความรู้จักกันแบบจริง ๆ จัง ๆ

เสริมความคุ้นเคยด้วยผ้าของอีกฝ่าย : การให้น้องหมาน้องแมวดมกลิ่นของอีกฝ่ายจะเป็นการช่วยเพิ่มคุ้นชินให้กับสัตว์เลี้ยงทั้งสองตัว ซึ่งวิธีการนั้นก็ง่าย ๆ แค่เจ้าของลูบตัวน้องหมาให้มีกลิ่นติดมือไปสัมผัสตัวน้องแมว จากนั้นก็ค่อยเปลี่ยนไปลูบน้องแมวไปจับตัวน้องหมา หรืออาจจะสลับผ้าห่ม ข้าวของเครื่องใช้กันไปมา เพียงเท่านี้ก็ทำให้สัตว์เลี้ยงรู้สึกเป็นพวกเดียวกันได้ง่ายขึ้น

รวม 3 เคล็ดลับฝึกสุนัขกับแมวอย่างไรให้อยู่ด้วยกันได้

เป็นอย่างไรบ้างสำหรับเคล็ดลับฝึกสุนัขกับแมวให้อยู่ด้วยกันที่เรานำมาฝาก แต่อย่างไรก็ตามก่อนตัดสินใจรับสมาชิกใหม่เข้ามาเลี้ยงเพิ่ม ควรพิจารณานิสัยและพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงตัวเดิมก่อนว่าเป็นอย่างไร เพราะน้องหมาส่วนใหญ่มักจะมีสัญชาตญาณนักล่า ถ้ามีนิสัยดุร้ายหรือชอบกัดสัตว์ที่ตัวเล็กกว่าก็อาจต้องชะลอแผนการที่จะเลี้ยงสัตว์ทั้งสองชนิดไว้รวมกัน เพื่อความปลอดภัยของน้องแมวและเจ้าของเอง ส่วนน้องแมวถ้ามีนิสัยหยิ่ง ติดเจ้าของ และขี้น้อยใจ แนะนำว่าไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงอื่นเข้ามาในบ้าน เนื่องจากจะทำให้น้องแมวเครียดน้อยใจจนไม่ยอมกินข้าวหรือหนีหายออกจากบ้านไปได้

แนะนำ 5 เคล็ดลับเตรียมความพร้อมก่อนพาสุนัขและแมวเที่ยวนอกบ้านอย่างปลอดภัย

เตรียมความพร้อมก่อนพาสุนัขและแมวเที่ยวนอกบ้าน

ถ้าสามารถพาน้องหมาน้องแมวของตัวเองไปเที่ยวกับตัวเองได้ แน่นอนว่าเหล่า Pet Lover ทุกคนคงพาไปด้วยทุกครั้งโดยไม่ลังเล เพราะการทิ้งให้เพื่อนรักสี่ขานอนเหงาอยู่ที่บ้านเพียงลำพังในระหว่างที่ตัวเองและคนครอบครัวเดินทางไปท่องเที่ยวนั้น นอกจากจะทำให้เจ้าของเป็นกังวลจนรู้สึกไม่สนุกแล้ว น้องหมาน้องแมวที่อยู่บ้านเพียงลำพังยังอาจเกิดความเครียด ซึ่งจะส่งผลเสียทั้งต่อร่างกายและจิตใจในระยะยาวอีกด้วย แต่ถึงอย่างนั้นก็ต้องยอมรับว่าการพาน้องหมาน้องแมวออกนอกบ้าน อาจทำให้เกิดอันตรายได้ตลอดเวลา ทั้งเชื้อโรค ถูกขโมย หลุดหาย และการเกิดอุบัติเหตุ

ดังนั้นวันนี้เราจึงมี 5 เคล็ดลับเตรียมความพร้อมก่อนพาสุนัขและแมวไปเที่ยวนอกบ้านมาฝาก รับรองว่าช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับน้องหมาน้องแมวแน่นอน

สุนัขและแมวไปเที่ยวนอกบ้านอย่างปลอดภัย ตามขั้นตอนนี้

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสุนัขและแมวของคุณผ่านการฉีดวัคซีนป้องกันโรคครบถ้วนตรงตามคำแนะนำของสัตวแพทย์เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคไข้หวัด หัด เห็บหมัด ลำไส้อักเสบ พิษสุนัขบ้า เป็นต้น ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากภายนอกบ้านอาจมีเชื้อโรคที่อาจทำให้น้องหมาน้องแมวป่วยและเป็นพาหะนำโรคมาสู่มนุษย์ได้

ควรเตรียมกรงหรือกระเป๋าใส่สัตว์เลี้ยงให้พร้อมก่อนวันออกเดินทาง เพื่อความปลอดภัยของน้องหมาน้องแมวและตัวเจ้าของเอง เพราะสัตว์เลี้ยงมีอาการตื่นเต้นกับการเดินทางมากจนวิ่งวนไปวนมาในรถ แนะนำให้เจ้าของรีบนำน้องเก็บไว้ในกรงหรือกระเป๋าก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงรบกวนสมาธิของคนขับจนเกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนั้นการพกกระเป๋าและกรงไปด้วยยังช่วยเพิ่มความสะดวกเวลาเดินเที่ยวอีกด้วย

จัดเตรียมข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวของน้องหมาน้องแมวให้พร้อมก่อนวันออกเดินทาง เช่น ยารักษาโรค เบาะนอน ถาดน้ำ ถาดอาหาร ขวดน้ำ กระบะทราย หรือของเล่น เพราะสัตว์เลี้ยงบ้างตัวก็ติดการของใช้ไม่ต่างจากมนุษย์ ถ้าไม่มีกลิ่นเฉพาะของตัวเองก็อาจไม่ยอมใช้งาน ส่งผลให้เจ้าของร้อนใจกลัวเจ้าสี่ขาป่วยต้องรีบกลับบ้านเร็วกว่ากำหนด

เจ้าของควรใส่ปลอกคอที่มีรายละเอียดของชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ของเจ้าของให้กับสัตว์เลี้ยง เพราะหากน้องหมาน้องแมวพลัดหลงกับเจ้าของในขณะที่ไปเที่ยว ผู้ที่ช่วยเหลือยังสามารถติดต่อเพื่อส่งคืนกลับเจ้าของได้ในทันที

เจ้าของควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับที่พัก ร้านอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวให้ละเอียด เพราะไม่ใช่ว่าทุกสถานที่จะอนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าได้ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการทิ้งน้องหมาน้องแมวไว้ตามลำพังในระหว่างการท่องเที่ยว แนะนำให้เลือกที่พักในโรงแรมหรือเที่ยวในสถานที่ที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าได้เท่านั้น

เป็นอย่างไรบ้างสำหรับ 5 เคล็ดลับในการเตรียมความพร้อมก่อนพาสุนัขและแมวไปเที่ยวนอกบ้านที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ แต่อย่างไรก็ตามก่อนตัดสินใจพาเพื่อนรักสี่ขาไปเที่ยวด้วย ควรสังเกตอาการเวลาพาออกนอกบ้าน หากมีอาการตื่นคนหรือตื่นตระหนกอยู่ตลอดเวลา เจ้าของควรฝึกสัตว์เลี้ยงให้มีความคุ้นเคยกับคนหรือการนั่งรถก่อน เพื่อเพิ่มความราบรื่นในการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น

สุนัขและแมวไปเที่ยวนอกบ้านอย่างปลอดภัย

สิ่งที่คุณต้องทำเมื่อถูกสุนัขและแมวกัด

สิ่งที่คุณต้องทำเมื่อถูกสุนัขและแมวกัด

แมวและสุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่ใกล้ชิดกับคน ซึ่งจะมีสภาวะในการเลี้ยงดูที่แตกต่างกันตามความสะดวกของแต่ละบ้าน ทำให้เมื่อกัดคนเข้า ก็อาจแพร่เชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น พิษสุนัขบ้า บาดทะยัก ให้แก่ผู้ถูกกัดได้ ดังนั้น สิ่งที่คุณจะต้องทำเมื่อถูกกัด มีลำดับขั้นตอนต่อไปนี้

วิธีป้องกันจากการที่ถูกสุนัขหรือแมวกัด

ล้างแผลให้สะอาด

ต้องใช้น้ำเปล่าหรือใช้ยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์หรือโปรวาโดไอโอดีน ล้างตรงแผล เพราะน้ำจะช่วยเจือจางสิ่งสกปรก ส่วนยาจะมีฤทธิ์ในการกำจัดเชื้อโรคออกไปได้หลายชนิด เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดแผลอักเสบเป็นหนองลุกลามได้

ทบทวนตัวเอง

คุณต้องทบทวนตัวเองว่าได้ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าไปครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ และได้ฉีดครบขนาดยาตามตารางการฉีดวัคซีนที่แพทย์กำหนดหรือไม่ หากฉีดแล้ว ก็แสดงว่าคุณมีภูมิต้านทานป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ในตัว ซึ่งทำให้สบายใจได้มาก เพราะเชื้อนี้อันตรายถึงแก่ชีวิต แต่หากคุณไม่แน่ใจ ก็จำเป็นต้องรีบไปโรงพยาบาล เพื่อรับการฉีดวัคซีนโดยเร่งด่วน

สิ่งที่ต้องทำกับสัตว์เลี้ยง

ถ้าสุนัขและแมวที่กัด เป็นสัตว์เลี้ยงที่คุณเลี้ยงไว้เองในพื้นที่ปิด ไม่มีโอกาสที่จะไปรับเชื้อโรคจากสัตว์จรจัดหรือสัตว์เลี้ยงของเพื่อนบ้านได้ ก็ไม่จำเป็นต้องนำไปหาสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อพิษสุนัขบ้า และคุณก็ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน

แต่ถ้าเป็นสุนัขและแมวที่ติดสัดแล้วหนีออกจากบ้านไปแล้วกลับเข้ามาใหม่ ซึ่งคุณไม่แน่ใจว่าอาจจะถูกสัตว์จากที่อื่นกัดจนได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้ามาหรือไม่ คุณก็จำเป็นจะต้องนำสัตว์เลี้ยงไปตรวจที่คลินิกสัตวแพทย์ และตัวคุณเองก็ต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วย

เมื่อฉีดวัคซีน

คุณจะต้องรับขนาดยาให้ครบตามกำหนด ซึ่งจะอยู่ที่ 4-5 ครั้งขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีน โดยต้องยอมรับว่าปัจจุบันไม่มีวิธีการป้องกันหรือรักษาที่ดีกว่าการฉีดวัคซีน คุณจึงจำเป็นต้องเสียเวลาหลายครั้งเพื่อฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนดเท่านั้น

การดูแลแผล

นอกจากการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าแล้ว คุณยังต้องดูแลแผลให้ดีด้วย เพราะในน้ำลายของสุนัขและแมวมีเชื้อโรคหลายชนิด ซึ่งเมื่อกัดผิวหนังคุณเข้าแล้ว จะเสี่ยงต่อการเกิดเป็นหนองลุกลามเป็นแผลอักเสบได้ นอกจากการใช้แอลกอฮอล์หรือยาฆ่าเชื้อที่ได้กล่าวไปในเบื้องต้นแล้ว คุณอาจจำเป็นจะต้องกินยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่งให้ครบ 5 ถึง 7 วันเพื่อป้องกันอาการเชื้อดื้อยาด้วย

จะเห็นได้ว่า การเลี้ยงสุนัขและแมวนั้น คุณจำเป็นจะต้องใส่ใจในหลาย ๆ ด้าน และหากคุณถูกกัด ก็ต้องปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงร้ายแรงจากการติดเชื้อจนอาจเสียชีวิตได้ แต่ถ้าหากว่าติดปัญหาไปโรงพยาบาลล่าช้า ควรศึกษาวิธีทำแผลผ่านทางกูเกิ้ล เนื่องจากปัจจุบันสื่อโซเชียลเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดูแลสุขภาพ ติดตามผลกีฬาย้อนหลังจาก โปรแกรมบอลเมื่อคืน หรือจะหาสาระจิปาถะ ก็สามารถค้นจากกูเกิ้ลได้ตามที่ต้องการเลย

วิธีป้องกันจากการที่ถูกสุนัขและแมวกัด

การฉีดวัคซีนสุนัขและแมวสำคัญอย่างไร

ทำไมต้องศึกษาเรื่องการฉีดวัคซีน

การฉีดวัคซีนให้สุนัขและแมวถือว่าเป็นตัวช่วยให้สัตว์เลี้ยงปลอดจากโรคร้าย ที่มักจะมีความเสี่ยงตามช่วงอายุและความแข็งแรงของสัตว์ แม้ว่าตามธรรมชาตินั้น สุนัขและแมวจะได้รับภูมิคุ้มกันบางส่วนจากแม่สัตว์ ผ่านทางสายรกและน้ำนมเมื่อแรกคลอด แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะป้องกันเชื้อโรคชนิดร้ายแรงบางชนิด เช่น โรคหัด ซึ่งหากมีการติดเชื้ออาจทำให้เสียชีวิตในไม่กี่วันได้ หลังการฉีดวัคซีนแล้ว สัตว์เลี้ยงจะลดความเสี่ยงติดเชื้อจากสัตว์ชนิดอื่น เช่น สุนัขแมวจรจัดที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงได้ดีขึ้น

ทำไมต้องศึกษาเรื่องการฉีดวัคซีน

ผู้ที่เลี้ยงสุนัขและแมว จึงควรศึกษาตารางการฉีดวัคซีนแก่สัตว์เลี้ยง และให้เริ่มเข็มแรกตั้งแต่ช่วงอายุ 1 เดือนครึ่ง ซึ่งในช่วงแรกต้องมีการฉีดวัคซีนบ่อย เช่น ต้องฉีดกระตุ้นภูมิต้านทานซ้ำ ๆ 1 ถึง 2 ครั้งในช่วงระยะห่างกันครึ่งถึง 1 เดือน จึงต้องสำรองค่าใช้จ่ายให้เพียงพอด้วย

ตัวอย่างวัคซีนที่จำเป็นต้องฉีดให้สุนัข ได้แก่ เมื่ออายุ 1 เดือนครึ่ง ต้องมีการถ่ายพยาธิและตรวจสุขภาพทั่วไป เมื่ออายุ 2 เดือน ต้องได้รับการฉีดวัคซีนรวม 5 โรค ได้แก่ โรคหลอดลมตีบ โรคฉี่หนู โรคตับและลำไส้อักเสบ และโรคไข้หัด หลังจากนั้นอีก 1 เดือน ต้องทำการฉีดวัคซีนรวม 5 โรคนี้ เป็นครั้งที่ 2 และเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าเป็นเข็มแรกด้วย เมื่ออายุ 4 เดือน ต้องฉีดวัคซีนรวม 5 โรคเป็นเข็มที่ 3 พร้อมกับวัคซีนพิษสุนัขบ้า เป็นครั้งที่ 2 โดยทั้งสองกลุ่มวัคซีนนี้ จะต้องมีการฉีดซ้ำเป็นประจำทุกปีอีกด้วย

สำหรับวัคซีนของแมว ควรเริ่มให้ลูกแมวถ่ายพยาธิเมื่ออายุ 1 เดือนครึ่ง หลังจากนั้นต้องฉีดวัคซีนโรคหัดแมวและไข้หวัดแมวครั้งที่ 1 เมื่ออายุได้ 2 เดือนครึ่ง ต้องฉีดวัคซีนโรคลิวคีเมียหรือ FeLV เป็นเข็มแรก เมื่ออายุได้ 3 เดือน จะต้องฉีดวัคซีนรวมไข้หัดและหวัดแมวเป็นครั้งที่ 2 พร้อมกับฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าเป็นครั้งแรก ต่อมาเมื่อแมวอายุ 3 เดือนครึ่งต้องฉีดวัคซีนลิวคีเมียครั้งที่ 2 และฉีดซ้ำเป็นประจำทุก ๆ ปี เมื่ออายุได้ 4 เดือน ต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดและโรคหวัดแมวเป็นครั้งที่ 3 พร้อมกับวัคซีนพิษสุนัขบ้าเข็มที่ 2 ซึ่งวัคซีนทั้งสองชนิดนี้ ต้องฉีดซ้ำเป็นประจำทุกปีด้วย

จะเห็นได้ว่า การฉีดวัคซีนให้สุนัขและแมวเป็นสิ่งที่จะช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ เจ้าของจึงควรนำสัตว์เลี้ยงไปตรวจกับสัตวแพทย์ตั้งแต่อายุน้อย เพื่อทำสมุดประจำตัว และจะได้กำหนดวันเวลาในการฉีดวัคซีนได้โดยไม่หลงลืม เพื่อให้สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพดีอยู่กับครอบครัวของคุณไปได้นาน ๆ

การฉีดวัคซีนสุนัขและแมวสำคัญอย่างไร

ภัยเสี่ยงของสุนัขและแมวในช่วงเทศกาล

สัตว์เลี้ยงป่วยหนัก มีอาหารต้องห้ามมากมาย

ช่วงปลายปีมีเทศกาลงานรื่นเริงมากมาย ตั้งแต่คืนฮัลโลวีน ลอยกระทง งานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เป็นเวลาแห่งความสนุกสนาน ผู้คนพลุกพล่าน และเสียงอึกทึกครึกโครมอาจเกิดความเสี่ยงทำให้สัตว์เลี้ยงแสนรักตกอกตกใจ การตกแต่งบ้านเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์และจัดงานเลี้ยงอาจทำให้สุนัขและแมวเกิดความเครียด กินขนมหวานหรืออาหารที่เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ ตกใจหนีเตลิดออกจากบ้าน เจ้าของสัตว์เลี้ยงจำเป็นต้องป้องกันและดูแลให้ปลอดภัย

สาเหตุที่ทำให้สัตว์เลี้ยงป่วยหนัก

เทศกาลเต็มไปด้วยขนมหวาน อาหารบางอย่างและขนมหวานอันโอชะอาจทำให้สัตว์เลี้ยงป่วยหนัก มีอาหารต้องห้ามมากมาย ไม่ว่าจะเป็นหัวหอม กระเทียม องุ่น ลูกเกด ช็อกโกแลต ลูกอม หมากฝรั่ง ชา กาแฟ หรือแม้แต่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามให้กินเด็ดขาด ช็อกโกแลตเป็นขนมหวานที่มีความเสี่ยงที่สุด ยิ่งเป็นดาร์กช็อตโกแลตที่มีความเข้มข้นของโกโก้สูงส่งผลให้จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติและอาจเกิดอาการชักได้ทั้งสุนัขและแมว เกิดตับอ่อนอักเสบและมีโรคแทรกซ้อนร้ายแรง สิ่งที่อันตรายกับสุนัขมากกว่าช็อกโกแลตคือ ไซลิทอล ซึ่งเป็นสารทดแทนน้ำตาลที่เป็นส่วนประกอบในหมากฝรั่งและลูกอมทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำ มีอาการชัก และตับล้มเหลวซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต อาหารที่ดูไม่น่ามีอันตรายอย่างลูกเกดและองุ่นก็อาจมีผลให้สุนัขบางตัวเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน

หากกินกระดาษห่อลูกอมเข้าไปจะเกิดการระคายเคืองทางเดินอาหารหรือระบบย่อยอาหาร อาจต้องไปพบสัตว์แพทย์เพื่อตรวจและผ่าตัดเอาออก เมื่อจัดปาร์ตี้สัตว์เลี้ยงอาจเข้ามาดื่มแอลกอฮอล์โดยบังเอิญหรือความคึกคะนองของคนบางคน ถ้าดื่มน้อยก็เมา ถ้าดื่มมากพิษแอลกอฮอล์ทำให้ถึงตายได้ หรือแม้จะล้างท้องได้ทันก็ยังเกิดความเสียหายต่ออวัยวะภายในอย่างรวดเร็ว อีกสิ่งที่เป็นอันตรายกับสัตว์เลี้ยงคือถุงพลาสติกขนาดใหญ่ที่ใส่ขนมและของว่างต่าง ๆ เป็นอันตรายต่อสุนัขและแมวที่มุดเข้าไปดมกลิ่นอาหารในถุงพลาสติกแล้วหัวติดอยู่ออกไม่ได้ทำให้หายใจไม่ออก ตายอย่างรวดเร็วและเงียบในเวลาเพียง 3-5 นาที ยิ่งสัตว์เลี้ยงตื่นตกใจจะยิ่งหายใจหอบทำให้ออกซิเจนหมดไปเร็วขึ้น

ถ้าจับสัตว์เลี้ยงแต่งตัวก็ต้องระมัดระวังอย่าให้รัดแน่นเกินไปหรือรุ่มร่ามเป็นอันตรายจนเสี่ยงเดินสะดุดล้มหรือตกจากบันได การแต่งตัวแปลก ๆ คนแปลกหน้ามากมาย และการตกแต่งสถานที่ใหม่ ๆ อาจทำให้สัตว์เลี้ยงหวาดกลัว สัตวแพทย์เตือนว่าเสียงดังถือเป็นภัยคุกคามที่อันตรายที่สุด เสียงพลุและประทัดส่งผลให้สุนัขและแมวเกิดความเครียดและความกลัว ทำให้เกิดปัญหาทางร่างกาย เช่น ท้องร่วงหรืออาเจียน แย่ที่สุดคือสัตว์เลี้ยงหลุดออกจากบ้านหนีเตลิดหลงทางและหายสาบสูญไป ควรจัดให้มีพื้นที่ปลอดภัยและป้องกันเสียงรบกวนได้มากที่สุด อาจเปิดทีวีหรือเล่นเพลงเพื่อกลบเสียงอื่นที่ไม่คุ้นเคย มีของเล่นประจำช่วยคลายเครียด ทำให้สุนัขและแมวสงบสติอารมณ์ ความเครียดน้อยลง ที่สำคัญคือระวังอย่าให้หลุดออกมาจากบ้านได้ เพราะอาจตกใจเตลิดหนีไปและต้องออกติดตามหา

ช่วงเทศกาลที่มีการเฉลิมฉลอง เจ้าของสัตว์เลี้ยงจึงควรอยู่ดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิด ด้วยเหตุว่าทั้งสุนัขและแมว ต่างก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ด้านความปลอดภัย และได้รับความรักจากเจ้าของอยู่เสมอ

ภัยเสี่ยงของสุนัขและแมวในช่วงเทศกาล

การดูแลสุนัขและแมวหลังคลอด เลี้ยงดูอย่างไร

การดูแลสุนัขและแมวหลังคลอด เลี้ยงดูอย่างไร

สุนัขและแมว เป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่ใกล้กับคนครอบครัวส่วนใหญ่ เป็นเพื่อนเล่นแก้เหงาและคลายเครียดได้ดี แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าเมื่อสัตว์เลี้ยงทั้งสองชนิดนี้ออกลูก แล้วจะต้องดูแลตัวแม่และลูกที่กำลังอ่อนแออย่างไรบ้าง เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากกัน ดังนี้

การเลี้ยงดูสุนัขและแมวหลังคลอด

ส่วนใหญ่ลูกสุนัขและแมวจะเสียชีวิตหลังคลอดได้ง่าย จากการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิหนาวเย็นกว่าในตัวแม่ เนื่องจากยังมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม ก็จะติดเชื้อและเสียชีวิตได้ง่าย ดังนั้นหลังจากการคลอดแล้ว จึงต้องดูแลให้ลูกสุนัขและแมวอยู่กับตัวแม่ตลอดเวลา เพื่อกินน้ำนมเหลืองจากเต้าอย่างน้อย 3 วัน เพื่อให้ได้รับภูมิคุ้มกันอย่างเต็มที่ผ่านทางน้ำนม สำหรับแม่สุนัขและแมวที่คลอดด้วยวิธีการผ่าตัด มักจะมีน้ำนมน้อยกว่าปกติ อาจต้องซื้อน้ำนมเหลืองที่เรียกว่า นมคอลอสตุ้ม สำหรับชงให้ลูกสัตว์ทานเพิ่มด้วย

นอกจากนี้ ควรระวังไม่ให้แม่สัตว์นอนทับลูกตัวเอง เจ้าของควรช่วยจัดที่นอนให้กว้างเพียงพอ เสริมผ้าขนหนูเพื่อให้มีความอบอุ่นทั่วถึง นอกจากนี้ โดยธรรมชาติลูกสุนัขและแมวจะได้รับการดูแลจากแม่ โดยเฉพาะเมื่อมีการดูดนมแล้ว ตัวแม่จะเลียที่อวัยวะเพศและก้นลูก เพื่อกระตุ้นให้ขับถ่ายออก แต่หากเจ้าของสังเกตดูไม่เห็นพฤติกรรมดังกล่าว หรือเป็นสัตว์กำพร้า ก็ต้องใช้สำลีชุบน้ำอุ่น ถูที่บริเวณก้นและอวัยวะเพศลูกสัตว์เพื่อกระตุ้นให้ขับถ่าย และทำทุกครั้งเป็นประจำหลังให้นม

ลูกสัตว์หลังคลอดจะดูดนมบ่อยทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง ซึ่งเจ้าของควรชั่งน้ำหนักแล้วบันทึกไว้ โดยเฉลี่ยแล้วน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นวันละ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อโตอายุได้ประมาณ 4 สัปดาห์ ลูกสุนัขและแมวจะสามารถกินอาหารเปียกบนจานได้ คู่กับการดูดนม ซึ่งเจ้าของต้องดูแลเลือกสูตรอาหารให้เหมาะสมกับช่วงอายุด้วย

สำหรับการดูแลแม่สุนัขและแมวหลังการคลอด ให้สังเกตอาการผิดปกติว่ามีสารเหลวออกมาจากช่องคลอดหรือไม่ ถ้ามีสีแดงหยดออกมาเล็กน้อยเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ที่เต้านมไม่ควรมีอาการเจ็บ จนไม่ยอมให้ลูกดูดนม หรือมีน้ำนมแต่เป็นสีเขียวเหนียวหนืด ซึ่งจะทำให้ลูกสัตว์ท้องเสีย ติดเชื้อตายได้ และที่ต้องสังเกตอีกประการหนึ่ง คือ หากแม่สุนัขและแมวมีอาการซึม มีไข้ตัวสั่น หรือไม่สนใจลูกเท่าที่ควร ก็หมายถึงอาจมีความผิดปกติหรือเจ็บป่วยภายใน ที่ต้องรีบตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด โดยปรึกษากับสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุด

การดูแลสุนัขและแมวในช่วงหลังคลอด เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องศึกษาข้อมูลเตรียมไว้ก่อน เจ้าของอาจต้องลางานเพื่อช่วยดูแลอย่างใกล้ชิด อย่างน้อยประมาณ 3 ถึง 5 วัน ด้วย หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกท่านใส่ใจคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงให้ดียิ่งขึ้น เพื่อลดความเครียดและลดความเสี่ยงการเสียชีวิตทั้งแม่และลูกสุนัข แมว

การเลี้ยงดูสุนัขและแมวหลังคลอด

การให้อาหารแมวกับสุนัขแตกต่างกันไหม

การให้อาหารแมวกับสุนัขแตกต่างกันไหม

คนที่รักสัตว์และอยากเลี้ยงสุนัขและแมวรวมกันในบ้าน นอกจากต้องจัดระเบียบพื้นที่อยู่อาศัย เพื่อป้องกันโรคติดต่อถึงกันได้แล้ว ยังต้องใส่ใจอาหารที่ให้แก่สุนัขและแมวด้วย ซึ่งมีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าสุนัขและแมวสามารถกินอาหารประเภทเดียวกันได้หรือไม่ เราจึงได้รวมข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากกันดังนี้

อาหารที่เหมาะสมสำหรับสุนัขและแมว

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า อาหารที่เหมาะสมสำหรับสุนัขและแมวมีความแตกต่างกัน เพราะระบบของร่างกายสัตว์ทั้งสองประเภทนี้ถูกสร้างมาให้มีความแตกต่าง สุนัขจัดอยู่ในประเภทที่กินและย่อยได้ทั้งเนื้อสัตว์และพืชผัก อย่างที่เราเห็นว่าบางครั้งสุนัขก็กินหญ้า แต่แมวจะเป็นสัตว์ที่กินเฉพาะเนื้อเท่านั้น ทำให้ระบบการดูดซึมวิตามิน เผาผลาญและย่อยอาหารแตกต่างกันไป

หากนำอาหารสุนัขซึ่งโดยทั่วไปจะมีราคาถูกกว่ามาให้แมวรับประทาน จะเกิดปัญหาต่อสุขภาพที่สำคัญ ได้แก่

แมวจะขาดวิตามินเอจากอาหาร เนื่องจากสุนัขมีการสังเคราะห์วิตามินเอได้เองจึงไม่ค่อยมีการผสมในอาหารเม็ด แมวที่กินอาหารสุนัขเป็นประจำจะทำให้มีปัญหาเส้นขนที่หยาบกร้าน ดวงตาไม่สามารถมองเห็นได้ดีนักในความมืด

นอกจากนี้ ในอาหารสุนัขยังขาดกรดอะมิโนทอรีน เนื่องจากสุนัขจะสามารถสังเคราะห์ได้ด้วยตัวเอง หากให้แมวกินบ่อยๆ จะเกิดภาวะขาดกรดอะมิโนชนิดนี้ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ ทำให้แมวเสี่ยงต่อการเป็นหัวใจวายและตายได้ ขณะเดียวกัน ก็ส่งผลให้แมวเกิดภาวะ feline central retinal degeneration (CRD) ซึ่งเป็นโรคของจอประสาทตา ทำให้ตาบอดได้ด้วย

การให้แมวซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ กินแต่อาหารสุนัข จะทำให้ได้เปอร์เซ็นต์สัดส่วนของโปรตีนที่น้อยกว่าปกติ จึงทำให้กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ภูมิต้านทานต่ำ ป่วยติดเชื้อเป็นโรคพยาธิต่าง ๆ ทำให้มีอายุสั้นด้วย

ดังนั้นหาก เลี้ยงสุนัข และแมวร่วมกัน ก็จำเป็นจะต้องแยกประเภทอาหาร ซื้ออาหารสุนัขและอาหารแมวที่เหมาะกับช่วงวัยของสัตว์เลี้ยง ถึงจะทำให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และเสริมสร้างพัฒนาการตามวัย

สำหรับสุนัขนั้น สามารถที่จะเสริมอาหารเม็ดด้วยผักผลไม้ได้ เนื่องจากระบบการย่อยอาหารของสุนัขจะมีเอนไซม์ทำหน้าที่ย่อยสารอาหารและดูดซึมนำไปใช้ได้

อย่างไรก็ตาม มีอาหารแต่ที่ต้องหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น กาแฟ โกโก้ช็อกโกแลต ซึ่งมักเป็นส่วนผสมในขนมเค้ก คุกกี้ ขนมปัง ซึ่งจะมีคาเฟอีนอยู่เป็นส่วนประกอบ ทำให้เกิดการกระตุ้นระบบประสาทและเป็นผลเสียต่อระบบไตของสุนัข ทำให้อายุสั้นได้

จะเห็นได้ว่า อาหารสุนัขและแมวมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน การให้อาหารที่ไม่เหมาะสม อาจจะทำให้สัตว์ป่วยถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ที่สนใจเลี้ยงสุนัขและแมวจึงต้องศึกษาให้ดีเรื่องของการดูแลสุขภาพ การฉีดวัคซีน รวมถึงการเลือกอาหารที่เหมาะสมกับแต่ละสายพันธุ์ด้วย

อาหารที่เหมาะสมสำหรับสุนัขและแมว