เลี้ยงสุนัขและแมว ต้องรู้กฎหมาย หากสัตว์เลี้ยงทำผิด

ปัญหาการเลี้ยง สุนัข แมว ในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อเพื่อนบ้านและเป็นข่าวให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง นั่นคือ ส่งเสียงดัง, ขับถ่ายของเสียไม่เป็นที่และส่งกลิ่นเหม็น จากปัญหาเล็ก ๆ อาจลุกลามบานปลายหากไม่ได้รับการแก้ไขที่ดี ซึ่งนอกจากจะมีพระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์เลี้ยงออกมาแล้ว แต่อย่าลืมว่ายังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่สามารถเอาผิดเจ้าของหรือผู้เลี้ยงได้หากสุนัขและแมวกระทำความผิด ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 433 ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่สัตว์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์ หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น

อนึ่ง บุคคลผู้ต้องรับผิดชอบดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่วสัตว์นั้น ๆ ก็ได้

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 377 ผู้ใดควบคุมสัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพัง ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2558]

อยากเลี้ยง สุนัข และ แมวต้องทำอย่างไร

สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ศึกษา หาข้อมูลเกี่ยวกับ สุนัข แมว ที่จะเลี้ยงเสียก่อนว่าสายพันธุ์ที่จะเลี้ยงนั้นต้องการพื้นที่ ที่ให้เค้าวิ่งเล่นหรือไม่ เห่าเก่งแค่ไหนและที่สำคัญคุณมีเวลามากพอที่จะฝึกให้ สุนัข แมว ปลดทุกข์ทั้งหนักและเบาในสถานที่หรือภาชนะที่จัดเตรียมได้หรือไม่ จากนั้นคุณเองจะจัดการกับสิ่งปฏิกูลของสุนัขแล้วแมวอย่างไร เพราะหลายต่อหลายข่าวที่เป็นคดี ส่วนใหญ่จะมาจากการจัดการสิ่งปฏิกูลของสัตว์เลี้ยงไม่ได้ ทำให้เกิดการทะเลาะและเข้าใจผิดกับเพื่อนบ้านตลอดเวลา ซึ่งเจ้าของสัตว์เลี้ยงนอกจากจะดูแลสัตว์และฝึกฝนให้ดี ต้องเอาใจใส่เพื่อนบ้านด้วย โดยเฉพาะการแจ้งเตือนจากเพื่อนบ้าน เพราะไม่อย่างนั้น คนที่จะมีปัญหาจะเป็นคุณเอง นอกจากนี้การพาสุนัขแล้วแมวออกไปเดินเล่นทุกครั้ง ควรมีสายลากจูง เพราะไม่อย่างนั้นหากเกิดเหตุร้ายจะไม่มีใครสามารถช่วยคุณได้

หากจะเลี้ยงลูกสุนัข ต้องพาไปตรวจสุขภาพหรือไม่?

หากคุณกำลังจะมีสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ภายในบ้านของคุณ คุณจะต้องใส่ใจทุกรายละเอียดของเขาเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะถ้าหากสัตว์เลี้ยงที่ว่านี้เป็น “ลูกสุนัข” ด้วยแล้ว คุณยิ่งจะต้องใส่ใจและมีการดูแลอย่างเป็นพิเศษเลยทีเดียว เพื่อที่คุณจะได้เตรียมความพร้อมกับการรับลูกสุนัขมาเลี้ยงดูได้อย่างถูกต้อง สิ่งแรก ๆ ที่คุณจะต้องทำนั่นก็คือ พยายามเรียนรู้และทำความรู้จักนิสัย พร้อมทั้งความต้องการของลูกสุนัข และที่สำคัญถ้าหากใครกำลังสงสัยว่า หากเป็นลูกสุนัข จะต้องพาไปตรวจสุขภาพหรือไม่? ขอตอบแบบชัด ๆ เลยค่ะว่า มีความจำเป็นอย่างมากที่คุณจะต้องพาพวกเขาไปตรวจสุขภาพ เพื่อที่คุณจะได้รู้เท่าทันว่าสุขภาพของเขาเป็นอย่างไร และคุณจะต้องดูแลเขาอย่างไรต่อไป

การนำลูกสุนัขไปตรวจสุขภาพ เพื่อเลี้ยงดูลูกสุนัขได้อย่างถูกต้อง

สำหรับลูกสุนัขแรกเกิด ถึงแม้ว่าพวกเขาจะได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ของพวกเขาผ่านทางน้ำนมก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้จะค่อย ๆ ลดลงและหายไปเมื่อลูกสุนัขค่อย ๆ โตขึ้น และย่างเข้าสู่วัย 8 – 12 สัปดาห์ นอกเหนือจากนี้เมื่อเวลาผ่านไปและสุนัขไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง ภูมิคุ้มกันของพวกเขาอาจจะลดลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งไม่ได้อยู่ในระดับที่สามารถป้องกันโรคร้ายแรงได้ในที่สุด

ซึ่งการที่ลูกสุนัขได้รับวัคซีนภายในระยะเวลาที่ดี มีความเหมาะสม ย่อมเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้เขามีเกราะป้องกันโรคภัยได้อย่างมากมาย หากว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่เริ่มต้นเลี้ยงลูกสุนัข คุณก็ควรที่จะพาพวกเขาไปตรวจสุขภาพเสียก่อน พร้อมทั้งขอคำแนะนำและคำปรึกษาในเรื่องของการฉีดวัคซีน เพื่อที่คุณจะได้มีความมั่นใจผ่านการดูแลพวกเขาได้โดยตรง อย่างน้อยความรู้และความเข้าใจผ่านการดูแลสุขภาพของพวกเขาที่คุณมี จะช่วยทำให้พวกเขาเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี และมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นอย่างมาก สำหรับลูกสุนัขตัวไหนที่มีสุขภาพร่างกายอ่อนแอ พร้อมทั้งมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 8 สัปดาห์ หรืออาจจะ 6 สัปดาห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของสัตวแพทย์ร่วมด้วย

วัคซีนที่ใช้ฉีดลูกสุนัข สามารถป้องกันโรคติดต่อได้ ดังนี้

– โรคไข้หวัด พร้อมทั้งโรคหลอดลมอักเสบแบบติดต่อ
– โรคไข้หัดสุนัข
– โรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข
– โรคตับอักเสบ
– โรคฉี่หนู
โรคพิษสุนัขบ้า ที่นับได้ว่าอันตรายที่สุด

นอกจากในเรื่องของการฉีดวัคซีนให้กับลูกสุนัขแล้ว คุณจะต้องใส่ใจในเรื่องของความสะอาด พร้อมทั้งคอยป้องกันกำจัดเห็บและหมัดให้อยู่หมัด นอกจากนี้ยังคงมีเรื่องของพยาธิที่สามารถเกิดขึ้นได้ในลูกสุนัขทุกตัว หากมีการป้องกันดี ๆ ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพของพวกเขา