โรคพิษสุนัขบ้า มหันตภัยร้ายสำหรับคนและสัตว์เลี้ยง

ในอดีตพอเข้าช่วงหน้าร้อน มักจะได้ยินประกาศของกระทรวงสาธารณสุขทางโทรทัศน์หรือไม่ก็เสียงตามสายของเทศบาลหรือ อบต.ในหมู่บ้าน ให้นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีน ให้เฝ้าระวังสุนัขจรจัดที่อาจเป็นต้นตอของโรคพิษสุนัขบ้า และคอยสังเกตอาการของสัตว์เลี้ยง แม้ว่าปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์พัฒนาไปไกล แต่ทว่ายังขาดหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลและเฝ้าระวังโรคดังกล่าวนี้อย่างเป็นระบบ เช่น การทำหมัน ฉีดวัคซีนให้สุนัขจรจัด หรือตามที่สาธารณะต่าง ๆ อย่างเช่น วัดและตลาดสด ดังนั้นเราทุกคนจึงต้องระมัดระวังตนเองและอยู่ในความไม่ประมาท ต่อจากนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้ามาเป็นแนวทางเพื่อให้เกิดความเข้าใจและจะได้ช่วยกันหาทางป้องกันได้อย่างเหมาะสม

โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดเชื้อในระบบประสาทจากสัตว์สู่คน มีอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการคิดค้นยาเพื่อใช้ในการรักษา จึงมีเพียงการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้า เท่านั้น โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สมอง ไขสันหลัง การเคลื่อนไหว และอวัยวะสัมผัสทั้ง 5 พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว หมู หนู วัว ลิง ค้างคาว กระรอก กระต่าย ในประเทศไทยพบในสุนัขกว่า 95% รองลงมาพบในแมวและวัว ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงสามารถติดเชื้อได้โดยการสัมผัสเชื้อไวรัสจากน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรค ผ่านทางบาดแผล และเยื่อเมือกในตาและปาก ที่ถูกกัด ข่วน หรือ เลีย เป็นต้น

อาการที่พบในคน หากติดเชื้อพิษสุนัขบ้า

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะแสดงอาการในช่วง 3 สัปดาห์ ถึง 3 เดือนขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ถูกกัด ขนาด และความลึกของบาดแผล ในระยะแรก ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามตัว และอาจมีอาการเจ็บ เสียวแปล๊บ หรือคันอย่างมากในบริเวณที่ถูกกัด ระยะที่สองเริ่มมีอาการทางสมอง ผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย กลืนลำบาก รวมถึงอาการกลัวน้ำ มีอาการชักและเป็นอัมพาต ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะเสียชีวิตอย่างกระทันหันด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว

สำหรับสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า จะมีอาการที่เห็นได้ชัดเจนคือ หงุดหงิด ดุร้าย และก้าวร้าวกว่าปกติ สลับกับอาการเซื่องซึม ลิ้นห้อย น้ำลายไหล ขากรรไกรค้าง กลืนอาหารลำบาก เสียงร้องเปลี่ยน เริ่มมีอาการชักกระตุกและเดินไม่สะดวก ควรรีบนำใส่กรง ไปพบสัตว์แพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยทันที และกักบริเวณภายในบ้านอย่างน้อยประมาณ 45 วัน

วิธีปฏิบัติเมื่อถูกสุนัขหรือสัตว์อื่นกัด

  1. รีบล้างบาดแผลให้เร็วที่สุด ด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาด อย่างน้อย 15 นาที แล้วเช็ดแผลให้แห้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น ยาโพวิโดนไอโอดีนลงในบาดแผล เพราะจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคแต่ไม่ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อหรือผิวหนัง เป็นต้น
  2. สังเกตอาการและลักษณะของสัตว์ที่กัด จากนั้นสืบหาเจ้าของ เพื่อสอบถามประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ภายในเวลา 10 วัน ถ้าสุนัขตายให้รีบนำซากไปให้แพทย์ตรวจทันที
  3. รีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมนำสมุดวัคซีนหรือประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและบาดทะยักไปด้วย (ถ้ามี) เพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ 

โรคพิษสุนัขบ้าพบได้ตลอดทั้งปี ไม่เฉพาะแต่ในช่วงหน้าร้อน ทางที่ดีจึงควรนำ สุนัข แมว สัตว์เลี้ยง ไปฉีดวัควีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้ครบ 2 ครั้งในขวบปีแรก ระหว่าง อายุ 3 เดือน และ 6 เดือน จากนั้นฉีดกระตุ้นซ้ำตามกำหนดเวลาในทุก ๆ ปี และหลีกเลี่ยงไม่ให้สัตว์เลี้ยงของเราไปคลุกคลีกับสุนัขหรือแมวอื่น ๆ นอกบ้าน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของสัตว์เลี้ยง ตัวคุณเอง และสวัสดิภาพของคนในชุมชนอีกด้วย 

หากต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าสามารถติดต่อไปได้ที่ กรมควบคุมโรค สายด่วน 1422, สำนักโรคติดต่อทั่วไป โทร. 0-2590-3177-78, กรมปศุสัตว์ โทร. 0-2653-4444 ต่อ 4161-2, สถานเสาวภา สภากาชาดไทย โทร. 0-2252-0161-7, สำนักงานสาธารณะสุขและปศุสัตว์ในระดับอำเภอและจังหวัด ตลอดจนโรงพยาบาลสัตว์ทุกแห่ง

สิ่งที่คุณต้องทำเมื่อถูกสุนัขและแมวกัด

สิ่งที่คุณต้องทำเมื่อถูกสุนัขและแมวกัด

แมวและสุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่ใกล้ชิดกับคน ซึ่งจะมีสภาวะในการเลี้ยงดูที่แตกต่างกันตามความสะดวกของแต่ละบ้าน ทำให้เมื่อกัดคนเข้า ก็อาจแพร่เชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น พิษสุนัขบ้า บาดทะยัก ให้แก่ผู้ถูกกัดได้ ดังนั้น สิ่งที่คุณจะต้องทำเมื่อถูกกัด มีลำดับขั้นตอนต่อไปนี้

วิธีป้องกันจากการที่ถูกสุนัขหรือแมวกัด

ล้างแผลให้สะอาด

ต้องใช้น้ำเปล่าหรือใช้ยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์หรือโปรวาโดไอโอดีน ล้างตรงแผล เพราะน้ำจะช่วยเจือจางสิ่งสกปรก ส่วนยาจะมีฤทธิ์ในการกำจัดเชื้อโรคออกไปได้หลายชนิด เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดแผลอักเสบเป็นหนองลุกลามได้

ทบทวนตัวเอง

คุณต้องทบทวนตัวเองว่าได้ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าไปครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ และได้ฉีดครบขนาดยาตามตารางการฉีดวัคซีนที่แพทย์กำหนดหรือไม่ หากฉีดแล้ว ก็แสดงว่าคุณมีภูมิต้านทานป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ในตัว ซึ่งทำให้สบายใจได้มาก เพราะเชื้อนี้อันตรายถึงแก่ชีวิต แต่หากคุณไม่แน่ใจ ก็จำเป็นต้องรีบไปโรงพยาบาล เพื่อรับการฉีดวัคซีนโดยเร่งด่วน

สิ่งที่ต้องทำกับสัตว์เลี้ยง

ถ้าสุนัขและแมวที่กัด เป็นสัตว์เลี้ยงที่คุณเลี้ยงไว้เองในพื้นที่ปิด ไม่มีโอกาสที่จะไปรับเชื้อโรคจากสัตว์จรจัดหรือสัตว์เลี้ยงของเพื่อนบ้านได้ ก็ไม่จำเป็นต้องนำไปหาสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อพิษสุนัขบ้า และคุณก็ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน

แต่ถ้าเป็นสุนัขและแมวที่ติดสัดแล้วหนีออกจากบ้านไปแล้วกลับเข้ามาใหม่ ซึ่งคุณไม่แน่ใจว่าอาจจะถูกสัตว์จากที่อื่นกัดจนได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้ามาหรือไม่ คุณก็จำเป็นจะต้องนำสัตว์เลี้ยงไปตรวจที่คลินิกสัตวแพทย์ และตัวคุณเองก็ต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วย

เมื่อฉีดวัคซีน

คุณจะต้องรับขนาดยาให้ครบตามกำหนด ซึ่งจะอยู่ที่ 4-5 ครั้งขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีน โดยต้องยอมรับว่าปัจจุบันไม่มีวิธีการป้องกันหรือรักษาที่ดีกว่าการฉีดวัคซีน คุณจึงจำเป็นต้องเสียเวลาหลายครั้งเพื่อฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนดเท่านั้น

การดูแลแผล

นอกจากการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าแล้ว คุณยังต้องดูแลแผลให้ดีด้วย เพราะในน้ำลายของสุนัขและแมวมีเชื้อโรคหลายชนิด ซึ่งเมื่อกัดผิวหนังคุณเข้าแล้ว จะเสี่ยงต่อการเกิดเป็นหนองลุกลามเป็นแผลอักเสบได้ นอกจากการใช้แอลกอฮอล์หรือยาฆ่าเชื้อที่ได้กล่าวไปในเบื้องต้นแล้ว คุณอาจจำเป็นจะต้องกินยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่งให้ครบ 5 ถึง 7 วันเพื่อป้องกันอาการเชื้อดื้อยาด้วย

จะเห็นได้ว่า การเลี้ยงสุนัขและแมวนั้น คุณจำเป็นจะต้องใส่ใจในหลาย ๆ ด้าน และหากคุณถูกกัด ก็ต้องปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงร้ายแรงจากการติดเชื้อจนอาจเสียชีวิตได้ แต่ถ้าหากว่าติดปัญหาไปโรงพยาบาลล่าช้า ควรศึกษาวิธีทำแผลผ่านทางกูเกิ้ล เนื่องจากปัจจุบันสื่อโซเชียลเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดูแลสุขภาพ ติดตามผลกีฬาย้อนหลังจาก โปรแกรมบอลเมื่อคืน หรือจะหาสาระจิปาถะ ก็สามารถค้นจากกูเกิ้ลได้ตามที่ต้องการเลย

วิธีป้องกันจากการที่ถูกสุนัขและแมวกัด